ด้านการแพทย์

สภากาชาดสยาม

สภากาชาดสยาม

การสูญเสียพระราชโอรสธิดาหลายพระองค์ในช่วงเวลาต่อกัน ทำให้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกา
เจ้าทรงพระประชวร พระสุขภาพทรุดโทรมลงอย่างสภากาชาดไทยรวดเร็ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใย จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า แปรพระราชฐาน ไปประทับรักษาพระองค์ที่พระตำหนักศรีราชา ขณะที่ประทับอยู่ที่ศรีราชานี้ มีพระราชดำริว่าประชาชน ในพื้นที่นั้นยังขาดแคลนสถานพยาบาลและแพทย์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสถานพยาบาลขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามสถานพยาบาลนี้ว่า โรงพยาบาลสมเด็จ ต่อมาเรียกว่า โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ปัจจุบันคือโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลแห่งนี้ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าพระราชทานพระราชินูปถัมภ์มาโดยตลอด และต่อมาก็โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้สภากาชาดสยามหรือสภากาชาดไทยในปัจจุบันดูแลกิจการ

สภากาชาดสยาม

สภากาชาดสยาม

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงมีส่วนช่วยริเริ่มการจัดตั้งสภาอุณาโลมแดง หรือสภากาชาดสยาม หรือ สภากาชาดไทยในปัจจุบัน ทรงดำรงตำแหน่งสภาชนนีแห่งสภาอุณาโลมแดง ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ และทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาแห่งสภากาชาดสยาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จนเสด็จสวรรคต สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าพระราชทานพระราชทรัพย์ในการทำนุบำรุงกิจการสภากาชาดไทยจนพัฒนาเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาจนทุกวันนี้

นอกจากนั้นแล้ว สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ายังทรงริเริ่มงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ตั้งแต่ยังต้องใช้เกวียนเป็นพาหนะ

บริเวณศาลาท่าน้ำ (9)

โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

ทรงสนับสนุนการจัดสร้างโรงศิริราชพยาบาลหรือโรงพยาบาลศิริราช ในปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นโรงพยาบาลหลวงแห่งแรก ทรงเป็นแรงบันดาลใจ ให้สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนก สนพระทัย และอุทิศพระชนม์ชีพเพื่อพัฒนาการแพทย์ และการสาธารณสุขไทย และทรงสนับสนุนพระราชกรณียzกิจของพระราชโอรสเกี่ยวแก่วงการแพทย์ไทย โดยเฉพาะการปรับปรุงกิจการต่างๆ ของโรงพยาบาลศิริราช